บทความเทคโนโลยีสื่อสาร

 บทความเทคโนโลยีสื่อสาร คอมพิวเตอร์

1. ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

 ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์

        การสื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อสารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มา ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์อีกด้วย

ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
        การสื่อสาร หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
        การสื่อสารข้อมูล หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักอยู่ห่าง ไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมููล
        เครือข่ายคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เพื่อให้สามารถสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล รวมทั้งสามารถใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเครือข่ายร่วมกันได้
        ระบบสื่อสารข้อมูล หมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างอุปรกรณ์โดยผ่านสื่อหรือตัวกลางที่อาจเป็นสายเคเบิลในการเชื่อมต่อหรือไม่ใช้สายก็ได้ โดยอุปกรณ์ที่แลกเปลี่ยนข้อมูลนี้จะมีการทำงานร่วมกันของส่วนที่เป็นฮาร์ดแวร์ หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่ง ซึ่งประสิทธิภาพของระบบสื่อสารข้อมูลนี้ จะขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ ดังนี้

        1. ตรงเป้าหมาย ระบบสื่อสารที่ดี ข้อมูลจะต้องถูกส่งไปยังเครื่องมือ อุปกรณ์หรือกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการเท่านั้น การส่งข้อมูลอย่างไร้เป้าหมาย ข้อมูลจึงเป็นเพียงขยะข้อมูลที่ผู้รับไม่ต้องการและไม่เกิดประโยชน์
        2. ความถูกต้อง ระบบการสื่อสารข้อมูลจะต้องมีความถูกต้องและเที่ยงตรง และสามารถปรับให้เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง การตรวจสอบความถูกต้องทำให้ข้อมูลน่าเชื่อถือได้
        3. ความทันสมัย ระบบสื่อสารที่ดีจะต้องมีการส่งที่มีความสัมพันธ์กับเวลาจริง (Real Time) การหน่วงเวลาของข้อมูลอาจจะทำให้ข้อมูลที่ได้รับขาดความสมบูรณ์ หรือกล่าวอีกอย่า่งได้ว่า ข้อมูลที่ส่งมานั้นไม่ทันสมัย ไม่ตรงกับความต้องการใช้ผู้ที่จะใช้ข้อมูลในเวลานั้นๆ
        4. ความคลาดเคลื่อน หรือความสับสนของระบบสื่อสารข้อมูล ตัวอย่างที่เห็นกรณีของการส่งข้อมูลวิดีโอที่มีสัญญาภาพกับสัญญาณเสียงที่ต้องส่งไปแสดงผลลัพธ์สัมพันธ์กัน หากการส่งข้อมูลไม่สัมพันธ์กัน สัญญาณเสียงถูกส่งมาแสดงผลแล้ว แต่สัญญาณภาพถูกหน่วยเวลา แสดงผลได้ช้ากว่าเสียง 3 วินาที ก็ทไให้ได้ผลลัพธ์ของข้อมูลที่ได้ไม่ตรงกับความเป็นจริงได้

องค์ประกอบของระบบการสื่อสารข้อมูล (Components of Data Communication System)
    ข่าวสาร (Message) ข้อมูลหรือสารสนเทศที่อาจเป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง หรือวิดีโอ
    ผู้ส่ง (Sender/Source) อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลข่าวสาร เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
    ผู้รับ (Receiver/Destination) อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ใช้สำหรับรับข่าวสารจากผู้ส่ง เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์
    สื่อกลาง (Transmission Medium) เป็นสื่อกลางที่ทำหน้าที่ให้ข้อมูลข่าวสารเดินทางจากเครื่องส่งไปสู่เครื่องรับ ซึ่่งอาจจะเป็นสายไฟเบอร์ออปติก  สายเกลียวคู่ หรืออาจเป็นคลื่นวิทยุที่มีคลื่นพา (Carrier Wave) ในการนำข้อมูลไปพร้อมกับคลื่นวิทยุไปสู่เครื่องรับ เป็นต้น
    โพรโทคอล (Protocol) กลุ่มของกฎเกณฑ์และข้อปฏิบัติต่าง ๆ ที่กำหนดขึ้นมา เพื่อนำมาใช้เป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับเพื่อให้การสื่อสารบรรลุผล

ประโยชน์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 
    1. การใช้ทรัพยากรร่วมกัน (Resources Sharing) หมายถึง การใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ร่วมกัน 
    2. การแชร์ไฟล์ เมื่อคอมพิวเตอร์ถูกติดตั้งเป็นระบบเน็ตเวิร์กแล้ว การใช้ไฟล์ข้อมูลร่วมกันหรือการแลกเปลี่ยนไฟล์ทำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
    3. สามารถบริหารจัดการทำงานคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องได้จากศูนย์กลาง (Centralized Management)
    4. สามารถทำการสื่อสารกันในเครือข่าย (Communication) ได้หลายรูปแบบ
    5. มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลบนเครือข่าย (Network Security)

            
ลักษณะข้อมูลที่ใช้สื่อสารในคอมพิวเตอร์
        ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
    1. ตัวอักษร (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น
    2. ตัวเลข (Number) ข้อมูลตัวเลขที่สื่อสารในคอมพิวเตอร์ ไม่ได้ใช้ค่าตัวเลขที่ผู้ใช้ป้อนหรือส่งเข้าในคอมพิวเตอร์ แต่จะต้องแปลงเลขฐานสิบที่ป้อนเข้าไปให้เป็นชุดของเลขฐานสองที่เรียกว่ารหัสแอสกีนั่นเอง
    3. รูปภาพ (Images) ข้อมูลรูปภาพที่สื่อสารในคอมพิวเตอร์จะใช้ชุดของบิตที่เป็นเลขฐานสองโดยเป็นชุดตาราง 2 มิติ (Matrix) ที่ใช้อ้างอิงตำแหน่ง (Pixel) ซึ่งเป็นจุดเล็ก ๆ ที่เรียงกันประกอบเป็นรูปภาพ
    4. เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงหรือดนตรีที่สื่อสารในคอมพิวเตอร์เป็นข้อมูลหรือเหตุการณ์ที่ต่อเนื่อง จะแตกต่างจากตัวอักษร ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณแบบแอนะล็อกที่เป็นสัญญาณคลื่น
    5. วิดีโอ (Video) ข้อมูลวิดีโอเป็นข้อมูลรูปภาพหรือภาพยนตร์ที่มีความต่อเนื่องกัน และประกอบด้วยข้อมูลเสียงควบคู่กันไป


ความรู้เพิ่มเติม
    สัญญาณที่ส่งทางโทรศัพท์พื้นฐานในประเทศไทย เป็นสัญญาณแบบแอนะล็อก ซึ่งมีลักษณะเป็นคลื่น ไม่ใช่การส่งแบบ 0 และ 1 ดังนั้นสัญญาณแอนะล็อกจึงจะถูกรบกวน (Noise) ได้ง่ายกว่าสัญญาณดิจิทัล

ทิศทางของการสื่อสารข้อมูล
    1. แบบทิศทางเดียวหรือซิมเพล็กซ์ (One-way หรือ Simplex)
    เป็นการส่งข้อมูลในทิศทางเดียว คือข้อมูลถูกส่งไปในทางเดียว เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียง การแพร่ภาพทางโทรทัศน์
    2. แบบกึ่งทางคู่หรือครึ่งดูเพล็กซ์ (Half-Duplex)
    เป็นการส่งข้อมูลแบบสลับการส่งและรับข้อมูลไปมา จะทำในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การใช้วิทยุสื่อสาร คือจะต้องสลับกันพูด เพราะจะต้องกดปุ่มก่อนแล้วจึงจะสามารถพูดได้
    3. แบบทางคู่หรือดูเพล็กซ์เต็ม (Full - Duplex )
    เป็นการส่งข้อมูลแบบที่สามารถส่งและรับข้อมูลได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน ซึ่งวิธีนี้ทำให้การทำงานเร็วขึ้นมาก เช่นการพูดทางโทรศัพท์ เป็นต้น




   การวิเคราะห์ คอมพิวเตอร์

[ พ.ศ.2365 ] ชาร์ล แบบเบจ ( Charles Babbage) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษได้ประดิษฐ์เครื่องมือที่เรียกว่าเครื่องหาผลต่าง ( Difference Engine) เพื่อใช้คำนวณและพิมพ์ ค่าทางตรีโกณมิติและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ แบบเบจได้พยายามสร้าง เครื่องคำนวณอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า Analytical Engine โดยมีแนวคิดให้แบ่งการทำงานของเครื่องออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนเก็บข้อมูล (Store unit), ส่วนควบคุม (Control unit) และส่วนคำนวณ (Arithmetic unit) ซึ่งแนวคิดนี้ได้รับการนำมาใช้เป็นต้นแบบของเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน จึงยกย่องแบบเบจ ว่าเป็นบิดาแห่งเครื่องคอมพิวเตอร์ เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค ( Lady Ada Augusta Lovelace ) เป็นนักคณิตศาสตร์ที่เข้าใจผลงานของแบบเบจ ได้เขียนวิธีการใช้เครื่องคำนวณของแบบเบจเพื่อแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ต่อมา เลดี้ เอดา ออคุสตา เลฟเลค จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
[ พ.ศ.2393 ] ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
[ พ.ศ.2492 ] ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้
[ พ.ศ.2496-2497 ] บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อมาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อมาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง (เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )
[ พ.ศ.2508 ] วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
[ พ.ศ.2514 ] บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์
มนุษย์พยายามสร้างเครื่องมือเพื่อช่วยการคำนวณมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จึงได้พยายามพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ให้สามารถใช้งานได้ง่ายเพิ่มขึ้นตามลำดับ ในระยะ 5,000 ปี ที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตน เพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนาเป็นอุปกรณ์อื่น ๆ
วิวัฒนาการของคอมพิวเตอร์ เริ่มต้นจากวิวัฒนาการของการคำนวณ อุปกรณ์ที่ใช้ในการคำนวณ หรือเครื่องคำนวณต่างๆ เนื่องจากถือได้ว่า "คอมพิวเตอร์" เป็นเครื่องคำนวณรูปแบบหนึ่งนั่นเอง โดยอาจจะเริ่มได้จากการนับจำนวนด้วยก้อนหิน, เศษไม้, กิ่งไม้, การใช้ถ่านขีดเป็นสัญลักษณ์ตามฝาผนัง ทั้งนี้เครื่องคำนวณที่นับเป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์ที่งานในปัจจุบันได้แก่ ลูกคิด (Abacus) นั่นเอง
คอมพิวเตอร์ยุคที่หนึ่ง
เริ่มจากปี ค.ศ. 1951 - 1958 ใช้หลอดสูญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นวงจรสำคัญในการทำงาน นับเป็นยุคเริ่มต้นที่ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์พึ่งก่อเกิด คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ได้แก่ UNIVAC, ENIAC

Vacuum Tube หรือหลอดสูญญากาศ
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ มักจะใช้กับงานธุรกิจ เช่น งานเงินเดือน บัญชี หรือควบคุมสินค้าคงคลัง
ลักษณะเฉพาะของคอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
• ใช้หลอดสูญญากาศ เป็นส่วนประกอบหลัก
• ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังไฟฟ้าสูง เกิดความร้อนสูง
• ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language)
• มีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ เช่น Symbolic Language และ Assembly
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง
ปี ค.ศ. 1959 - 1964 ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นวงจรสำคัญ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่พัฒนาโดยนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำสามคนจากห้องปฏิบัติการเบลล์ (Bell Lab.) ได้แก่ วิลเลียม ชอคลีย์ (W. Shock), จอห์น บาร์ดีน (J. Bardeen), วอลเตอร์ แบรทเตน (H. W. Brattain) โดยทรานซิสเตอร์เป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กกว่าหลอดสูญญากาศมาก แต่มีความจำที่สูงกว่า ไม่ต้องเวลาในการวอร์มอัพ ใช้พลังงานต่ำ ทำงานด้วยความเร็วที่สูงกว่า นอกจากเทคโนโลยีเรื่องวงจร ยังมีเทคโนโลยีอื่นมาร่วมด้วย เช่น เกิดภาษาคอมพิวเตอร์ขึ้นมา คือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language) และภาษาระดับสูงต่างๆ เช่น ภาษา FORTRAN, COBOL สำหรับหน่วยบันทึกข้อมูลก็มีการนำเทปแม่เหล็กมาใช้งาน
คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม
ปี ค.ศ. 1965 - 1670 เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์เริ่มปรับเปลี่ยนมาก เนื่องจากมีการพัฒนาแผงวงจรรวม (IC : Integrated Circuit) อันเป็นผลงานของบริษัทเท็กซัส อินสตรูเมนต์ (Texas Instruments Co.,) ทำให้เกิดคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กลงมา ระดับมินิคอมพิวเตอร์
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
การจัดแบ่งประเภทของ เครื่องคอมพิวเตอร์ จะอาศัยคุณสมบัติต่างๆ เช่น ความเร็วของการประมวลผล และขนาดความจำ ของหน่วยบันทึกข้อมูล ซึ่งสามารถแบ่งได้ เป็น 4 ประเภท ได้แก่
• Supercomputers
• Mainframe Computers
• Minicomputers
• Microcomputers
ทั้งนี้คุณสมบัติที่นำมาแบ่งประเภทประกอบด้วย
• Word size - Word ในความหมายของคอมพิวเตอร์ก็คือ "คำ" หรือ "ตัวอักษร" อันเป็นสัญญาณไฟฟ้าที่รับ หรือส่งเข้าสู่ระบบ โดยจะนับเป็นจำนวนครั้งละกี่บิต ดังนั้นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จะสามารถรับ/ส่งข้อมูลจำนวนบิตมากกว่าตามไปด้วย เช่น เครื่องที่มี Word ขนาด 32 บิต ย่อมรับ/ส่งข้อมูลได้มากกว่าเครื่อง 16 บิต และเรียกขนาดของ Word ว่า 16-bit word หรือ 32-bit word นั่นเอง
• Processor speed - หมายถึงความเร็วในการประมวลผลของ Processor ซึ่งสามารถแบ่งได้หลายหน่วย
o MHz ย่อมาจาก Megahertz เป็นหน่วยที่วัดการงานของคอมพิวเตอร์ในอัตรา Million of clock cycle เช่น ไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็ว 100MHz จะใช้เวลาในการปฏิบัติงานเศษ 1 ส่วน 100,000,000 วินาที อย่างไรก็ตามเครื่องที่มี Word size ต่างกัน ก็จะมีความเร็วต่างกันไปด้วย เช่น เครื่อง 32-bit 200MHz ทำงานช้ากว่าเครื่อง 64-bit 200MHz
o MIPS ย่อมาจาก Million of instructions per second ใช้กับคอมพิวเตอร์ขนาดกลางขึ้นไป
o FLOPS ย่อมาจาก Floating point operations per second เป็นหน่วยวัดสำหรับ Supercomputer โดยวัดจากงานที่ปฏิบัติ และเน้นงานด้านวิทยาศาสตร์เป็นหลัก
• RAM - การจำแนกประเภทโดยความจุของ RAM ซึ่งมีหน่วยตั้งแต่ KB (Kilobytes), MB (Megabytes), GB (Gigabytes) และ TB (Terabytes)

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์
จากความหมายของ "คอมพิวเตอร์" ก็คงจะมองออกว่า คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ ต้องประกอบด้วยส่วนการทำงานอะไรบ้าง นั่นคือ คอมพิวเตอร์ต้องประกอบด้วยส่วนรับข้อมูลและคำสั่ง ส่วนประมวลผล ส่วนที่ใช้แสดงผลลัพธ์จากการประมวลผล และส่วนในการเก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งเรียกรวมกันว่า "องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์" อันได้แก่

• ส่วนที่ทำหน้าที่รับข้อมูล และคำสั่ง เรียกว่า หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
• ส่วนที่นำเอาข้อมูลและคำสั่งไปประมวลผล เรียกว่า หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit ; CPU)
• ส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์เรียกว่า หน่วยแสดงผล (Output Unit)
• ส่วนที่ทำหน้าที่บันทึกคำสั่งและข้อมูล อย่างถาวร เรียกว่า หน่วยความจำรอง (Secondary Storage Unit)
นอกจากส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับคอมพิวเตอร์ทั้ง 4 ส่วนยังมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกดังนี้
• ข้อมูล (Data) คือข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบคุลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟ้ฟ้าฯ ในปัจจุบันเราถือว่าข้อมูล มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการใช้งานคอมพิวเตอร์ ถ้าฮาร์ดแวร์หรือซอฟต์แวร์เสียหาย ไปยังหาซื้อใหม่ได้ แต่ถ้าหากข้อมูลเกิดการสูญหายแล้ว หน่วยงานอาจจะประสบปัญหาในการดำเนินงานได้ทันที
• บุคคลกร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ มากนัก ดังนั้นเราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย
• ระเบียบ คู่มือ และ มาตรฐาน (Procedure) การนำคอมพิวเตอรต์เข้ามาใช้ในหน่วยงานนั้น จะต้องไปสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานจำนวนมาก บุคคลเหล่านี้บางคนก็เรียนรู้ได้เร็ว บางคนก็ช้า และนอกจากนั้นยังมีแนวคิด และทัศนคติที่แตกต่างกัน ดังนั้นเพื่อให้คนเหล่านี้ทำงานร่วมกันได้โดยไม่มีปัญหา จึงจำเป็นจะต้องมีระเบียบปฏิบัติ ให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้ นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ด้านคอมพิวเตอร์และด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่นขึ้น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้น เพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

ความรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
รู้จักกับคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันจะพบว่าคอมพิวเตอร์มีหลากหลายลักษณะ หลากหลายรูปแบบ ทั้งคอมพิวเตอร์ขนาดพกพา คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์แบบกระเป๋าหิ้ว คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรม หรือซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็มีความหมายที่ชัดเจนในตัวของมันเอง คือ เครื่องคำนวณ ในรูปของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถรับข้อมูล และคำสั่ง ผ่านอุปกรณ์รับข้อมูล แล้วนำข้อมูลและคำสั่งนั้น ไปประมวลผลด้วยหน่วยประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ และแสดงผลผ่านอุปกรณ์แสดงผล ตลอดจนสามารถบันทึกรายการต่างๆ ไว้เพื่อใช้งานได้ด้วยอุปกรณ์บันทึกข้อมูลสำรอง
คอมพิวเตอร์จึงสามารถมีรูปร่างอย่างไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปร่างอย่างที่เราคุ้นเคย หรือพบเห็น ตัวอย่างเช่น เครื่องฝากถอนเงินอัตโนมัติ หรือ ATM ก็ถือว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง
เหตุผลที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้งาน
สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ ได้รวดเร็ว เช่น การใช้เครื่องอ่านรหัสแท่ง (Bar-code) อ่านเวลาเข้า-ออก ของพนักงาน และคิดราคาสินค้า ในห้างสรรพสินค้า
สามารถเก็บข้อมูลจำนวนมากๆ ไว้ในฐานข้อมูล (Database) เพื่อใช้งานได้ทันที
สามารถนำข้อมูลที่เก็บไว้มาคำนวณทางสถิติ แยกประเภท จัดกลุ่ม ทำรายงานลักษณะต่างๆ ได้ โดยระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing)
สามารถส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล (Data Communication)
สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยระบบประมวลผลคำ (Word Processing) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation)
การนำมาใช้งานทั้งด้านการศึกษา การวิจัย
การใช้งานธุรกิจ งานการเงิน ธนาคาร และงานของภาครัฐต่างๆ เช่น การนำคอมพิวเตอร์มาใช้กับงานบัญชี งานบริหารสำนักงาน งานเอกสาร งานการเงิน การจองตั๋วเครื่องบิน รถไฟ
การควบคุมระบบอัตโนมัติต่างๆ เช่น ระบบจราจร, ระบบเปิด/ปิดน้ำของเขื่อน
การใช้เพื่องานวิเคราะห์ต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สภาวะดินฟ้าอากาศ สภาพของดิน น้ำ เพื่อการเกษตร
การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อจำลองรูปแบบ เช่น การจำลองในงานวิทยาศาสตร์ จำลองโมเลกุล จำลองรูปแบบการฝึกขับเครื่องบิน
การใช้คอมพิวเตอร์นันทนาการ เช่นการเล่นเกม การดูหนัง ฟังเพลง
การใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับเทคโนโลยีล้ำสมัยอี่นๆ เทคโนโลยีสื่อสารข้อมูล เกิดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น


ข้อดี-ข้อเสียของคอมพิวเตอร์

ข้อดี มีดังนี้
1. ความเร็วสูง 
2.ความถูกต้องแม่นยำและน่าเชื่อถือ 
3. ความสามารถในการจำหรือรักษา 
4. การประหยัด 
5. การใช้งานได้อีกหลายๆด้าน

ข้อเสียของคอมพิวเตอร์
• ทำให้ความสัมพันธ์ของมนุษย์เสื่อมลง 
• ทำให้เกิดความขัดแย้ง 
• ทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านข้อมูล 
• ทำให้เกิดการแพร่วัฒนธรรมอันไม่พึงประสงค์

ความคิดเห็น