บทความ

ระบบAS/RS

รูปภาพ
 ความหมายของระบบAS/RS ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติ   (Automated Storage/Retrieval System  เรียกโดยย่อว่า  AS/RS)    คือ    การทำงานของระบบการจัดเก็บในคลังสินค้าหรือโกดังที่มีการควบคุมด้วยระบบการจัดเก็บวัสดุ การรับวัสดุ รวมทั้งการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ขนถ่าย ที่ทำงานร่วมกับโรงงานและคลังสินค้า ซึ่งสามารถออกแบบการใช้งานให้เหมาะสมกับการทำงานลักษณะต่างๆได้โดยทั่วไปแล้วปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดเก็บและเรียกใช้ของอุปกรณ์แบบ  AS/RS  จะพิจารณาจากลักษณะโครงสร้างของหิ้งที่ใช้จัดเก็บ ความเร็วในการเคลื่อนของอุปกรณ์  AS/RS  ทั้งในแนวดิ่งและแนวราบ รูปภาพประกอบระบบAS/RS                                                                                                                  องค์ประกอบพื้นฐานของระบบ  AS/RS 1.        โครงสร้างที่เก็บวัสดุ  (Storage Structure) 2.        เครื่อง  S/R (Storage/Retrieval Machine) 3.        หน่วยของการเก็บวัสดุ  (Storage Module) 4.        สถานีหยิบและฝากวัสดุ  (Pickup and Deposit Station) อุปกรณ์พิเศษของระบบ  AS/RS 1.        รถเคลื่อนย้ายช่องทางขนส่ง

ระบบขนถ่ายวัสดุอัตโนมัติ

    ระบบลำเลียง Conveyor Belts  คือ ระบบลำเลียงสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งโดยใช้สายพานลำเรียงในหน่วย ของการผลิต  ระบบลำเลียงสินค้าก็เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ในรางกายมนุษย์ เพราะถ้าไม่มีเส้นเลือดร่างกายของเราจะไม่มี การหมุนเวียนเลือดนำเลือกเสียมา ฟอกให้กลายเป็นเลือดที่ดีได้ ซึ่งระบบลำเลียงจะต้องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เช่นนั้นส่วนอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน ระบบลำเลียงแบบสายพานที่มีประสิทธิภาพสูงถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลาย ชนิด เช่น อาหาร หรือ  สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่น ๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ LINE  ที่มีความยาว หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ระบบลำเลียงสินค้าเปรียบเสมือน ระบบประสาทส่วนกลางสำหรับการดำเนินงานของคุณ มันต้องทำงานอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้ทุกอย่างสามารถทำงาน ได้อย่างมี ประสิทธิผลมากที่สุด จุดมุ่งหมายหลักของระบบสายพานลำเลียง คือ ช่วยในกระบวนการต่างๆ  ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น และลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง จัดกา

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

หุ่นยนต์ยกของในโรงงานในการผลิตรถยนต์ หุ่นยนต์ (robot) คือ เครื่องจักรกลหรือหุ่นที่มีเครื่องกลไกอยู่ภายใน สามารถทำงานได้หลายอย่างร่วมกันกับมนุษย์หรือแทนมนุษย์ และสามารถตั้งลำดับแผนการทำงานก่อนหลังได้ หุ่น ยนต์สามารถจำแนกระดับขั้นการทำงานได้ 6 ระดับ ตามเกณฑ์มาตรฐานของสมาคมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (JIRA : Japanese Industrial Robot Association) ดังนี้ ระดับที่ 1 กลไกที่ถูกควบคุมด้วยมนุษย์ (manual-handling device) ระดับที่ 2 หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนดไว้ โดยไม่สามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (fixed-sequence robot) ระดับที่ 3 หุ่นยนต์ที่ทำงานตามแผนล่วงหน้าที่กำหนดไว้ โดยสามารถปรับเปลี่ยนแผนงานได้ (variable-sequence robot) ระดับที่ 4 ผู้ควบคุมเป็นผู้สอนงานให้กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์จะทำงานเล่นย้อนกลับ ตามที่หน่วยความจำบันทึกไว้ (playback robot) ระดับ ที่ 5 ผู้ควบคุมบันทึกข้อมูลเชิงตัวเลขการเคลื่อนที่ให้กับหุ่นยนต์ หุ่นยนต์สามารถทำงานได้เอง โดยไม่ต้องทำการสอนงาน (numerical control robot) ระดับที่ 6 หุ่นยนต์มีความฉลาด สามารถเรียนรู้สภาพแวดล้อม และตัดสินใจทำงานได้ด้วยด้วยเอง (intelligent

เครื่องจักรNC

 เครื่องจักรNC  เครื่องจักรNC ย่อมาจาก Numerical Control หมายถึงการควบคุมการทำงานของเครื่อง NC ด้วยคำสั่งเชิงตัวเลขและตัวอักษรที่ถูกสร้างขึ้นมาในรูปของคำสั่งซึ่งก็คือ โปรแกรม NC. ระบบ NC ซึ่งนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตของสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ.1950 ซึ่งส่วนมากจะถูกนำมาใช้ในการควบคุมการทำงานของเครื่องมือกลเป็นส่วนใหญ่. ในปัจจุบันระบบ NC จะถูกแทนที่ด้วยระบบ NC เกือบทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากว่าในระบบ NC ไม่มีคอมพิวเตอร์ เข้ามาช่วยในการทำงาน อีกทั้งเครื่องจักรที่ถูกควบคุมด้วย NC ก็ไม่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว. ระบบ NC มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน คือ  1.ชุดคำสั่ง (Programmed) คือคำสั่งในแต่ละขั้นตอนเพื่อกำหนดให้เครื่องจักร NC ทำงานตามที่เราต้องการ โดยที่ชุดคำสั่งนี้จะถูกสร้างขึ้นในลักษณะของตัวเลข ตัวอักษรสัญลักษณฺ์ต่างๆ แล้วเก็บไว้ในเทปกระดาษที่เจาะรู เมื่อจะนำไปใช้งานก็จะใช้เครื่องอ่านเทปเพื่อแปลรหัสคำสั่งให้ทำงานตามขั้นตอน.  2.หน่วยควบคุมการทำงานของเครื่องหรือเอ็มซียู (MCU : Machine Control Unit) คือส่วนที่ทำหน้าที่อ่านและตีความหมายของคำสั่งเพื่อแยกคำสั่งออกเป็นสัญญาณไปควบคุมเครื่องจักรต่อไป ป

บทความเทคโนโลยีสื่อสาร

รูปภาพ
 บทความเทคโนโลยีสื่อสาร คอมพิวเตอร์ 1. ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์   ระบบสื่อสารข้อมูลสำหรับเครือข่ายคอมพิวเตอร์         การสื่อสารข้อมูลเป็นการถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง โดยอาศัยสื่อหรือเครื่องมือต่างๆ เป็นช่องทางในการสื่อสาร เช่น การสื่อสารด้วยท่าทาง ถ้อยคำ สัญลักษณ์ ภาพวาด จดหมาย โทรเลข เป็นต้น ต่อมาการสื่อสารข้อมูลได้พัฒนาและก้าวหน้าไปอย่างต่อเนื่อง มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มา ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ทำให้การติดต่อสื่อสารเกิดความสะดวก รวดเร็ว รวมทั้งได้รับข่าวสารทันเหตุการณ์อีกด้วย ความหมายของการสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์           การสื่อสาร  หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนสารหรือสื่อระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางนำสารหรือสื่อ เพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน          การสื่อสารข้อมูล  หมายถึง กระบวนการหรือวิธีถ่ายทอดข้อมูลระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์ที่มักอยู่ห่าง ไกลกัน และจำเป็นต้องอาศัยระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมููล          เครือข่ายคอมพิ

สมาชิกในชั้นเรียน

ลำดับที่                       ชื่อ                                                                                        URL                                                    1               นายปิยะพล เทพจันทร์                                                piyapon001.blogspot.com/ 2              นายชวนากร ดำศรีสุข                                                  chawanakon002.blogspot.com 3              นางสาวพิมพ์นาราชายแก้ว                                        pimnara003.blogspot.com 4              นายธนกฤต ทองอุบล                                                 thanakrit004.blogspot.com 5              นางสาววรางคณา ทองสงค์                                        warangkana005.blogspot.com    6             นายธนพัต เอียดหม้ง                                                   thanaphat006.blogspot.com                 7             นายอภินัทธิ์ ผ่านกระแส                                              apinat007.blogspot.com 8             นางสาวสุกัญญา วัชรจิรโสภา